"เยรูซาเล็ม" นครศักดิ์สิทธิ์ของ 3 ศาสนา ผ่านกาลเวลาเกือบ 4,000 ปี!

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์กลับมาปะทุอีกครั้ง หลังกลุ่มฮามาส หรือกลุ่มชาวมุสลิมปาเลสไตน์ติดอาวุธ ยิงจรวดถล่มพื้นที่อิสราเอลตอนใต้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย ทำให้ทางการอิสราเอลต้องเปิดเสียงไซเรนแจ้งเตือน พร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

นอกเหนือจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์บริเวณฉนวนกาซาแล้ว บริเวณเวสต์แบงก์ ก็มีเหตุปะทะระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งในพื้นที่เล็ก ๆ ของเวสต์แบงก์ฝั่งตะวันตก ก็มีเมืองหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์นาม “เยรูซาเล็ม”

สมาชิกอาวุโสกลุ่มฮามาสเผย “พร้อมทำสงครามยาวนานกับอิสราเอล”

“Iron Dome” คืออะไร? ระบบป้องกันขีปนาวุธผู้พิทักษ์น่านฟ้าอิสราเอล

"เวสต์แบงก์" ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สู่พื้นที่ขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์

เยรูซาเล็ม เป็นเมืองที่อยู่ระหว่างดินแดนของอิสราเอลในฝั่งตะวันตก กับพื้นที่เวสต์แบงก์ในฝั่งตะวันออก มีประชากรของ 3 ศาสนาอาศัยอยู่ ได้แก่ ยูดายคริสต์ และอิสลาม เนื่องจากเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์และมุสลิม ที่เคยแย่งชิงในสงครามครูเสดเมื่อยุคกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 11 – 13 อีกทั้งยังเป็นดินแดนดั้งเดิมตามความเชื่อของชาวยิวอีกด้วย

ย้อนกลับไปเมื่อ 1,900 ปีก่อนคริสตกาล ชาวคานาอัน (หรือชาวยิวในปัจจุบัน) กลุ่มชนชาวเซมิติกที่เป็นหนึ่งในชาวอาหรับโบราณ ได้อพยพออกมาจากใจกลางของบริเวณคาบสมุทรอาหรับ และเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ พร้อมสร้างเมืองต่าง ๆ ขึ้น เช่น เจริโค และ “เยรูซาเล็ม”

ต่อมาเมื่อ 63 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนปาเลสไตน์ถูกโรมันเข้ายึด และต่อมาเมืองเยรูซาเล็มถูกทำลายโดยจักรพรรดิติตุสในคริสต์ศักราชที่ 70 ซึ่งเป็นช่วงยุคที่เชื่อกันว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก่อนที่หลังจากนั้นจะมีการขับไล่ชาวคริสต์และยิวออกจากเยรูซาเล็ม

คริสต์ศักราชที่ 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 มหาราช ได้เปลี่ยนกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองคริสต์ ก่อนที่จะถูกเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติอาหรับเข้ายึด พร้อมทำลายวัดและอารามต่าง ๆ โดยเยรูซาเล็มถูกชาวอาหรับปกครองยาวนานกว่า 500 ปี โดยระหว่างปี ค.ศ 685 ถึงปี 691 มีการสันนิษฐานว่าเป็นช่วงเวลาที่ชาวอาหรับ สร้างมัสยิด “อัล-อักซอ” ขึ้น

จนกระทั่งเกิด “สงครามครูเสด” ซึ่งเป็นสงครามทางศาสนาแย่งชิงเมืองเยรูซาเล็มขึ้น ระหว่างศาสนาคริสต์กับอิสลาม กินเวลาเกือบ 200 ปี จนในที่สุด เยรูซาเล็มอยู่ภายใต้การปกครองโดยชาวมุสลิมภายใต้การนำของเศาะลาฮุดดีน สุลต่านแห่งอียิปต์และซีเรีย ก่อนจะตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเติร์ก กลุ่มมุสลิมทางตะวันออก เป็นเวลา 400 ปี ถึงช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวเติร์กเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้ยึดกรุงเยรูซาเล็มและให้อยู่ภายใต้การปกครองของทหารอังกฤษ จนกระทั่งจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิว ได้อพยพมายังดินแดนปาเลสไตน์ เดินทางเข้าสู่เมืองเยรูซาเล็ม เนื่องจากเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ พร้อมประกาศเอกราชเป็นประเทศอิสราเอลขึ้น ในปี 1948 แต่ดินแดนดังกล่าวในขณะนี้ เป็นที่อยู่ของกลุ่มชนชาติปาเลสไตน์ ทำให้เกิดสงครามอาหรับ-อิสราเอล เรื่อยมา

จนกระทั่งในปี 1948 เยรูซาเล็มถูกแบ่งดินแดนเป็นเยรูซาเลมตะวันตก ปกครองโดยอิสราเอล และเยรูซาเล็มตะวันออก ปกครองโดยจอร์แดน ต่อมาในสงคราม 6 วัน อิสราเอลเป็นฝ่ายชนะสงคราม เยรูซาเล็มตะวันออกจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิสราเอล และอิสราเอลออกกฎหมายในปี 1980 ประกาศให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

โดยเยรูซาเล็ม ได้รับการรับรองจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ให้เป็นแหล่งมรดกโลกในปี 1981 อีกด้วย และยังมีจุดเด่นที่กำแพงเมืองเก่าบริเวณตะวันออกของเมือง อันเป็นร่องรอยที่หลงเหลือจากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ให้ได้ศึกษาและเยี่ยมชมกันต่อไป

เรียบเรียงจาก Al Jazeera / UNESCO / Britannica / Wikipedia

ภาพจากAhmad GHARABLI / AFP -Thomas COEX / AFP

“ฉนวนกาซา” คือที่ไหนคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้? บ้านหลังสุดท้ายหรือกรงขังชาวปาเลสไตน์

อิสราเอล ปิดล้อม "ฉนวนกาซา" ทุกด้าน ตัดน้ำ-ตัดไฟฟ้า –อาหาร

เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ

 "เยรูซาเล็ม" นครศักดิ์สิทธิ์ของ 3 ศาสนา ผ่านกาลเวลาเกือบ 4,000 ปี!

By admin

Related Post