เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 พ.ย. ที่ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร (กพข.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group) ครั้งที่ 2 ภายใต้การศึกษาโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อนำเสนอสรุปแผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) สนามบิน และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น โดยมีคณะผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
นายเริงศักดิ์ เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ สนข. จัดทำโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อมุ่งเน้นปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ตลอดจนแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ Feeder เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าและสนามบิน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
ที่ผ่านมาที่ปรึกษาโครงการได้ดำเนินการสำรวจและศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางหลายรูปแบบในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑลอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ พบว่า มีโครงการย่อย 20 โครงการ โดยมีสถานีที่เปิดให้บริการและอยู่ระหว่างก่อสร้างจำนวน 212 แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะเร่งด่วน (ปี 66-67) จำนวน 35 สถานี ระยะสั้น (ปี 68-70) จำนวน 54 สถานี ระยะกลาง (ปี 71-75) จำนวน 84 สถานี และระยะยาว (ปี 76-80) จำนวน 39 สถานี คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 4,373 ล้านบาท และคาดว่าดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 80 โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องทั้งในกระทรวงคมนาคมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ
นอกจากนี้ได้เสนอแผนปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนรอง เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าอีกจำนวน 81 เส้นทาง โดยเป็นระบบบริการแบบประจำเส้นทาง (Fixed Route) จำนวน 36 เส้นทาง และเป็นแบบแล้วแต่เรียก หรือ On Demand จำนวน 45 เส้นทาง ทั้งนี้ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้จะปรับปรุงให้เป็นระบบไฟฟ้า (อีวี) ทั้งหมด
ทั้งนี้ สนข. ได้เสนอโครงการนำร่องในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณสถานี เพื่อเป็นต้นแบบจำนวน 8 สถานี (Preliminary Design) ได้แก่ 1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 3 สาย (สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีน้ำตาล) เพิ่ม Public Skywalk Bridge และเพิ่มลานกิจกรรมยกระดับ บริเวณรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีน้ำตาลสร้างหลังคาคลุม (Covered walkway) ให้ร่มเงาแก่ผู้เดินเท้า 300 เมตร หน้าอุทยานมกุฏรมยสราญ
2.สถานีเตาปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน) ปรับปรุงพื้นที่โถงทางเดินบางส่วนให้เป็นจุดจอดรถโดยสาร รถแท็กซี่และพื้นที่พักคอย เพิ่มร่มเงาทางเดินที่ทางลาดบริเวณทางขึ้น-ลงที่ 2 เปลี่ยนตำแหน่งทางม้าลายให้เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทางให้ดูสะอาดและสวยงาม และปรับปรุงทางลาดให้สอดคล้องกับ Universal Design
3.สถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางไปยังสถานีกลางบางซื่อที่มีการเชื่อมต่อการเดินทางของระบบรางที่สำคัญ (สายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน และสาย ARL รวมไปถึงรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต) ปรับปรุงช่องทางจราจรเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงสถานี เพิ่มจุดจอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถแท็กซี่บริเวณริมถนนฝั่งสถานีรถไฟบางซื่อ และพิจารณาเปลี่ยนตำแหน่งของทางม้าลาย เพื่อส่งเสริมให้คนที่มาจากสถานีรถไฟบางซื่อมาใช้ทางลอดใต้ดินที่ทางออกหมายเลข 2
4.สถานีท่าพระ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ปรับเปลี่ยนบริเวณโถงทางออกที่ 1 มาใช้เป็นจุดจอดรับ-ส่งรถโดยสารประจำทางร่วมด้วยปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนบริเวณโถงทางออกที่ 3 (ฝั่งถนนเพชรเกษมขาเข้า กทม.) ให้เป็นจุดจอดรับ-ส่ง และป้ายรถโดยสารประจำทาง ขยายทางเท้าถนนฝั่งถนนเพชรเกษมบริเวณก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์
5.สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับศูนย์การประชุมระดับนานาชาติที่มีผู้สัญจรมากเป็นพิเศษ ปรับปรุงพื้นที่ริมถนนบริเวณทางออกที่ 2 ให้เป็นจุดจอดรถโดยสาร และร่มเงาทางเดินปรับปรุงพื้นที่รถแท็กซี่บริเวณริมถนนฝั่งถนนรัชดาภิเษกขาเข้า กทม.ปรับปรุงพื้นที่ด้านหน้าทางออกที่ 1 ให้เป็นพื้นที่พักคอยผู้โดยสารเชื่อมต่อกับป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง และเพิ่มทางเท้ามีหลังคาคลุมไปยังลิฟต์
6.สถานีบางแค ซึ่งเป็นสถานีสำคัญในย่านกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก ที่มีความต้องการในการเดินทางสูง ปรับปรุงพื้นที่ริมถนนบริเวณทางออกที่ 2 ให้เป็นจุดจอดรถโดยสาร และร่มเงาทางเดินพิจารณาย้ายป้ายรถประจำทางไปอยู่บริเวณก่อนสะพานลอย
7.สถานีศรีรัช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นและมีปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนของการเดินทาง ปรับตำแหน่งที่จอดรถโดยสารประจำทางเพิ่มทางลาดให้สอดคล้องกับ Universal Design และ 8.สถานีตลิ่งชัน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนกับรถไฟทางไกลสายใต้ ปรับตำแหน่งที่จอดรถโดยสารประจำทางเพิ่มทางลาดให้สอดคล้องกับ Universal Design
ภายหลังการประชุมครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาพิจารณาประกอบการศึกษาในการปรับปรุงการจัดทำแบบเบื้องต้น รวมทั้งรูปแบบการลงทุน และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และได้นำไปจัดทำกรอบแบบรายละเอียด (Definitive Design) ในขั้นต่อไป โดยผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือน ก.พ.66 จากนั้นเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป