ต้นเรื่องของเหตุการณ์นี้มาจาก กรณีวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กรมศุลกากร ด่านศุลกากรอรัญประเทศ สามารถจับกุมและยึดทุเรียนลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เข้าจับกุมรถบรรทุก 6 ล้อ ต้องสงสัย ที่บริเวณถนน 317 (สระแก้ว-จันทบุรี) ช่วงบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลวังสมบูรณ์ ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ ภายในรถบรรทุก 6 ล้อคำพูดจาก เครื่องสล็อต
ตรวจพบทุเรียนสด ระบุว่า มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ และไม่มีเอกสารหลักฐาน แสดงการผ่านพิธีการศุลกากร จึงตรวจยึดทุเรียน จำนวน 8,420 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 1,178,800 บาท ไว้ตามดำเนินคดีตามกฎหมาย
ต่อมานายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสระแก้ว ออกมาร้องเรียนกรณีนี้ โดยเปิดเผยกับผู้สื่อข่าว PPTV ว่า ผู้ประกอบการล้งทุเรียนที่ถูกจับกุมประกอบธุรกิจที่จ.จันทบุรี เป็นเพื่อนของตน มาร้องเรียนกับตนว่า ข่าวที่ออกไปไม่เป็นความจริง ทุเรียนที่ถูกจับไม่ได้ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป็นการไปรับซื้อมาจากสวนของเกษตรกรที่จ.ศรีสะเกษ ทำให้ไม่มีใบอนุญาตนำเข้ามาแสดง รวมถึงการซื้อขายก็จ่ายเป็นเงินสด
จากนั้นด้วยความสังสัย นายอัมรินทร์ จึงเดินทางไปสังเกตการณ์ที่ด่านศุลการกรอรัญประเทศ ในช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา / ก็สังเกตเห็นว่า มีรถของหน่วยงานราชการกำลังขนย้ายของกลางออกจากรถผู้ประกอบการคันที่จับกุมได้ พอเข้าไปสอบถามเรื่องความชัดเจนในการถูกจับกุม ก็ถูกบ่ายเบี่ยง
รวมถึง นายอัมรินทร์ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาเพื่อนของตนซึ่งเป็นเจ้าของล้ง พยายามที่จะขอประมูลคืน แต่หน่วยงานที่จับกุมอ้างว่า ต้องทำลายหรือขายต่อให้หน่วยงานราชการด้วยกัน แต่มาทราบในภายหลังว่าขายทุเรียนของกลาง 50 ลูกในราคา 7,500 บาท จึงอยากทราบว่า หากมีการจำหน่ายและนำเงินเข้ารัฐบาลจริง โปร่งใส และเป็นไปตามราคาตลาดหรือไม่
กรมศุลกากรจับกระเทียมลักลอบนำเข้า กว่า 12,000 กิโลกรัม มูลค่าเหยียบ 1 ล้าน
ธุรกิจโรงแรม มอง เก็บค่าบำบัดน้ำเสียซ้ำเติมต้นทุน
"ของเถื่อนทะลัก" หลังเปิดประเทศ เร่งเดินหน้าทำลาย
นอกจากนี้นายอัมรินทร์ ยังเรียกร้องให้ กรมศุลกากร มีคำสั่งย้ายศุลกากรชุดจับกุมทุเรียนออกนอกพื้นที่ เข้าไปประจำหน่วยงานส่วนกลาง และตั้งคณะกรรมการสอบทั้งเรื่องจับทุเรียนและบุกโรงงาน โดยไม่มีหมาย นายอัมรินทร์ ยังบอกอีกว่า สาเหตุที่ผู้ประกอบการรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในครั้งนี้ เพราะเคสนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผู้ประกอบการรู้สึกว่าถูกกลั่นแกล้ง ที่ผ่านมายังมีเรื่องอื่นๆที่ถูกเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรมาก่อนหน้านี้
นายประพันธ์ จันทร์ไทยศรี นายด่านศุลกากรอรัญประเทศ เปิดเผยทางกับทีมข่าวพีพีทีวี ยืนยันว่า คนขับรถยอมรับสารภาพว่า ทุเรียนชุดนี้ลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจริง จากนั้นเจ้าของสินค้า ได้เดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่ และยอมรับว่า ได้ลักลอบนำเข้าไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ส่วนประเด็นที่มีการนำเสนอในสื่อโซเชียล นายด่านศุลกากรอรัญประเทศ ระบุว่า ของกลางที่เจ้าหน้าที่ยึดไว้กว่า 8,000 กก.นั้น ตามระเบียบและกฏหมายของศุลกากร เจ้าหน้าที่สามารถนำไปจำหน่ายให้กับส่วนราชการต่างๆ ได้ตามระเบียบข้อบังคับ เพราะเป็นสินค้าเน่าเสียได้ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ของกลางเหล่านี้ นำกลับเข้าไปสวมสิทธ์สินค้าเกษตรไทย เมื่อได้เงินมา เจ้าหน้าที่จะรวบรวมนำส่งเข้ากรมศุลกากร