ขณะเดียวกันยังต้องการผลักดันไทยขึ้นแท่นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาค และติด Top10 ของโลก รวมไปถึงการเป็นฮับของการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันควบคู่กันไปด้วย
มาตรการอีวี 3.5 ที่รัฐบาลเคาะออกมาครั้งนี้ ได้แตกต่างไปจากมาตรการอีวี 3.0 โดยเฉพาะการให้ส่วนลดที่รอบนี้ให้สูงสุด 100,000 บาท ที่จะเริ่มใช้จริง ๆ จัง ๆ ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 67 เป็นต้นไป โดยครอบคลุม ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสิทธิประโยชน์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เงินอุดหนุนโดยเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต
ย้ำลดสูงสุด 1 แสนบาท
ทั้งนี้หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 กิโลวัตต์ จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาทต่อคันทันทีหากซื้อรถในปีแรกของมาตรการ หากซื้อในปีที่ 2 ของมาตรการ ได้รับเงินอุดหนุน 75,000 บาทต่อคัน ส่วนในปีที่ 3-4 ได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาท หากมีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 กิโลวัตต์ ได้รับเงินอุดหนุนในปีแรก ที่คันละ 50,000 บาท 35,000 บาทในปีที่ 2 และ 25,000 บาท ในปีที่ 3-4
หากเป็นรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 กิโลวัตต์ จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาทต่อคัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ ส่วนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 กิโลวัตต์ จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาทต่อคัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ รวมทั้งจะมีการลดอากรขาเข้าไม่เกิน 40% โดยการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป หรือ CBU ที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก (2567–2568) และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่มีราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท
กำหนดเงื่อนไขหลัก
อย่างไรก็ตามมีเงื่อนไขสำคัญในเรื่องของการลงทุนในประเทศ ที่กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) และเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ในปี 2570 ขณะเดียวกันยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่เข้าร่วมมาตรการ อีวี3 แล้ว หากมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการ อีวี 3.5 ให้สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการ โดยกรมสรรพสามิตคาดว่าจะมียานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนตลอดระยะเวลา 4 ปี จำนวนประมาณ 830,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 454,000 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 346,000 คัน และรถกระบะไฟฟ้า 30,000 คัน คาดว่าใช้งบประมาณ 34,000 ล้านบาท ตลอดเวลา 4 ปี
ค่ายหลักสะท้อนความเห็น
เงื่อนไขรายละเอียดสารพัดที่รัฐบาลกำหนดออกมาในครั้งนี้จะได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ จะเป็นไปตามที่ฝันได้หรือเปล่า ก็ต้องหันมาฟังความเห็นจากผู้ประกอบการ ที่มีผลโดยตรงโดยเฉพาะค่าย “เอ็มจี” ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยรายแรก ๆ โดย “พงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์” รองกรรมการผู้จัดการ เอ็มจี เซลส์ ประเทศไทย มองว่า การประกาศนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ดั่งที่เห็นได้จากมาตรการเดิม 3.0 ที่ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างมาก ส่งผลให้ยอดจองรถอีวีพุ่งมากกว่าที่คาดการณ์ รวมแล้วยอดขายทั้งปีเกินกว่า 80,000 คัน ทำให้ตลาดรถอีวี ยิ่งคึกคักมากขึ้นไปอีกในปีนี้
ขณะเดียวกันเมื่อรัฐประกาศมาตรการอีวี 3.5 ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจมากขึ้น เชื่อมั่นถึงความแน่วแน่ที่รัฐจะส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง และสิ่งสำคัญประโยชน์ได้ตกไปอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้รถ รวมไปถึงเป้าหมายที่รัฐได้วางไว้ ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถอีวีในภูมิภาค และก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
หลังจากที่ผ่านไป 1 ปี ปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนมากกว่าที่คาดไม่ได้มีปัญหาอย่างที่กลัว โดยเฉพาะจุดชาร์จ เนื่องจากผู้ใช้รถอีวีส่วนใหญ่กว่า 80-85% ชาร์จไฟที่บ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีปัญหาบ้างใช้ช่วงเทศกาลที่ผู้คนเดินทางจำนวนมากในบางครั้งเท่านั้น ในอนาคตจากนี้ไป ปริมาณรถอีวีในไทยจะเพิ่มมากขึ้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมรองรับไว้แล้ว
แนะพิจารณาคนลงทุนรอบด้าน
ในส่วนของค่ายรถยนต์ ส่วนลงทุนโรงงานประกอบไลน์ผลิตพร้อม ในเร็ว ๆ นี้ จะเดินหน้า และได้เห็นรถอีวีที่ประกอบในไทยออกสู่ท้องถนนแน่นอน การก้าวสู่เป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้าของไทย ณ เวลานี้ สามารถเป็นไปได้อย่างแน่นอน แต่จากนี้ไปด้านการพิจารณาอนุมัติลงทุน อยากเสนอแนะให้ภาครัฐพิจารณารายละเอียดของผู้ที่สนใจลงทุน ให้รัดกุมรอบด้าน เช่น เงินทุนจดทะเบียน สถานะของบริษัท เป็นต้น
สต๊อกเหลือหลักหมื่นคัน
เมื่อรัฐเคาะมาตรการอีวี 3.5 ออกมา แม้ว่าสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จะลดลงจากมาตรการ อีวี 3.0 ที่ได้หมดอายุลงไป หลังจากที่มาตรการประกาศออกมาชัดเจนสำหรับค่ายรถยนต์ที่เข้าโปรเจ็คแรก อีวี 3.0 พร้อมเดินหน้าตบเท้าเข้ามาตรการอีวี 3.5 ด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมาระหว่างช่วงรอยต่อ รอความชัดเจน ประชาชนได้ชะลอการซื้อไป จึงทำให้มีสต๊อกเหลือ รวม ๆ กันแล้ว มากกว่าหลักหมื่นคัน ซึ่งจำนวนนี้เมื่อได้สั่งนำเข้ามาแล้ว ก็ต้องจำหน่ายออกไป และในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีนี้เชื่อแน่ว่าไม่สามารถระบายของออกไปได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน เพราะยอดขาย ยอดจองในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปที่ผ่านมา ก็ทะลักทะล้น ทั้งไฟแนนซ์ การยื่นรายละเอียดต่อภาครัฐ ก็ทำงานไม่ทันแล้ว การที่จะเคลมลวง ๆ ว่าขายได้ พร้อมจดทะเบียน โดยไม่มีผู้ซื้อตัวจริง อันนี้บอกเลยว่าทำได้ยาก หากทางการตรวจเจอข้อมูล และพบว่าเล่นไม่ซื่องานนี้ฟันไม่เลี้ยง เพราะบทลงโทษแรง
คาดตลาดแข่งรุนแรงแน่
อย่างไรก็ตาม!!บรรดาค่ายรถอีวีหลายค่ายเห็นพ้องต้องกันว่า ปี 67 ตลาดจะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะแคมเปญ โปรโมชั่นต่าง ๆ เพราะมาตรการอีวี 3.5 ได้รับสิทธิประโยชน์น้อยกว่าส่วนลดสูงสุดเพียง 100,000 บาทเท่านั้น มาตรการอีวี 3.0 ที่ให้ส่วนลดสูงสุดถึง 150,000 บาท ดังนั้นในส่วนของสต๊อกรถที่เหลือมากกว่า 10,000 คันในระบบ ตรงนี้ผู้ประกอบการได้เตรียมคำนวณต้นทุนไว้แล้ว และพร้อมที่จะลงสนาม อัดแคมเปญ เพื่อเคลียร์ของ จากนั้นจะได้ตั้งหน้าตั้งตาประกอบรถตามพันธสัญญาที่ให้ไว้กับภาครัฐ และเข้าสู่มาตรการอีวี 3.5 ต่อไปในปีหน้า
สำหรับการจำหน่ายรถอีวีในปีหน้า เชื่อว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปีนี้มียอดขายกว่า 85,000 ตัว หรืออาจจะเกิน โดยมีอัตราการเติบโตมากกว่า 15% ซึ่งเหนือความคาดหมายไปมาก โดยปีนี้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในตลาดรวม จะอยู่ที่ 795,000-800,000 คัน และปีหน้าจะขยับมากขึ้นกว่า 20% จากตัวเลขดังกล่าวถือว่ายังน้อยประมาณ 10% ของรถยนต์โดยรวม เท่านั้น และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อีกทั้งปัจจุบันนี้…ถือว่าไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อีวีในภูมิภาคนี้ได้แล้ว เพราะค่ายรถยนต์ เอ็มจี-เกรท วอลล์ฯ- บีวายดี เริ่มผลิต และจะได้เห็นรถไฟฟ้าที่ประกอบในประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ ยังตามมาติด ด้วย ค่าย ฉางอาน ประกาศลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท เพื่อผลิตรถอีวีพวงมาลัยขวา GAC Group ใช้เงินลงทุนกว่า 6,400 ล้านบาท มีเป้าหมายผลิตรถ 100,000 คัน และใช้ไทยเป็นฮับในอาเซียน แบรนด์เชอรี่ พร้อมจะเข้ามาเช่นกัน
ไม่เพียงเฉพาะค่ายอีวีจากแดนมังกรเท่านั้น ค่ายรถเกาหลี ได้เริ่มนำผลิตภัณฑ์เข้ามาชิมลาง รวมไปถึงค่ายญี่ปุ่น อย่าง ฮอนด้า ได้ประกาศตัวอย่างเป็นทางการในการเปิดสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่วนฝั่งยุโรป ก็มา ทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู วอลโว่ ออดี้ แม้ไม่ได้ร่วมวงมาตรการอีวี แต่ก็มีรถอีวี นอกจากนี้ยังมีเงินลงทุนเกือบ 10,000 ล้านบาท จากกว่า 10 บริษัทเพื่อลงทุนผลิตแบตเตอรี่รถอีวี ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน จากนี้ไปจะได้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะเริ่มก้าวสู่ โลก “อีวี” อย่างแท้จริง.
นักลงทุนลังเลเร่งปักหมุด
“สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์” รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)ระบุว่า ภาคเอกชนสนับสนุนเต็มที่เนื่องจากทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้นจากที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจลงทุน คาดว่า จะเห็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยจากมาตรการรอบนี้ประมาณปี 68-70 เป็นต้นไป จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคหรือฮับ ทั้งการผลิตเครื่องยนต์สันดาปหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และรถอีวี
มาตรการนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นทั้งผู้ลงทุนและผู้ใช้หลังจากนี้จะเห็นการลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนการลงทุนของแต่ละบริษัทไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์หรือกลุ่มที่ทำสถานีชาร์จรถไฟฟ้าอีกทั้งมาตรการนี้จะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่ลดลงไปได้อีกเพราะรัฐสนับสนุนอยู่ไม่เกินคันละ 100,000 บาททำให้ปริมาณความต้องการรถไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าหนี้ครัวเรือนจะเป็นปัจจัยหลักต่อการจับจ่ายใช้สอยและสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ แต่เชื่อว่ากลุ่มรถไฟฟ้าจะไปต่อได้เทียบกับกลุ่มรถกระบะเพราะกลุ่มซื้อรถไฟฟ้ามีกำลังซื้อมากกว่า
สำหรับยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภทบีอีวีหรือรถยนต์ไฟฟ้า100% ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเดือน พ.ย. 66 จดทะเบียนใหม่ 11,290 คัน เพิ่มขึ้น 292.29% แยกเป็นรถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ 8,979 คันเพิ่มขึ้น 583.33% ขณะที่รถกระบะ รถแวน 36 คัน เพิ่มขึ้น 620% รถยนต์สามล้อรับจ้าง 93 คัน เพิ่มขึ้น 126.83% รถจักรยานยนต์ 2,178 คัน เพิ่มขึ้น 67.93% ส่งผลให้เดือน ม.ค.–พ.ย. 66 มีรถบีอีวี หรือรถไฟฟ้าจดทะเบียนใหม่สะสม 89,027 คันเพิ่มขึ้น 391.29%.
มาตรการใหม่ดันไทยฮับโลก
“นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์” เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ บอกว่า มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2หรืออีวี 3.5 ที่ครม.อนุมัติล่าสุด ช่วงเวลา 4ปี (67–70) จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 67 เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นการผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค โดยบีโอไอ จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดของมาตรการนี้ รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ อีกครั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“มาตรการอีวี 3.5เป็นมาตรการที่ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนอุตสาหกรรมอีวีอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค ซึ่งการออกมาตรการ อีวี 3.5ในครั้งนี้จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมอีวีในประเทศไทยเพิ่มเติม ทั้งการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายเดิมเปลี่ยนผ่านไปสู่ การผลิตรถอีวี รวมทั้งดึงบริษัทรถยนต์รายใหม่ ๆ ให้เข้ามาตั้งฐานผลิตในประเทศเพิ่มเติมด้วย”
อย่างไรก็ตามบีโอไอในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการอีวี จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเดินหน้าผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายการผลิตยานยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573 ตลอดจนสามารถรักษาความเป็นผู้นำด้านยานยนต์อันดับ 1 ในอาเซียน และ 1 ใน 10 ของโลก และสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจก และก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 อีกด้วย.
ทีมเศรษฐกิจ