รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สถิติเรื่องร้องทุกข์ผู้บริโภค ในช่วงรอบปีงบประมาณ 66 (ต.ค. 65-ก.ย. 66) มีจำนวน 33,189 เรื่อง โดยพบว่ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบัตรการแสดง บัตรคอนเสิร์ต เนื่องจากไม่ได้รับความไม่เป็นธรรมการซื้อบัตรคอนเสิร์ต จำนวน 2,719 เรื่อง ทั้งราคาบัตรที่สูงขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผล เมื่อใกล้จัดคอนเสิร์ตผู้จัดจำหน่ายบัตรกลับมีการลดราคาบัตรคอนเสิร์ต ทำให้ผู้ร้องเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ การจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตถือว่าเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 4) ตามมาตรา 57 ที่ระบุว่า “ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข่าวสารหรือบริการอย่างถูกต้อง และเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม” ดังนั้นผู้จัดคอนเสิร์ตและผู้จัดจำหน่ายบัตร จะต้องมีการชี้แจงรายระเอียดให้ชัดเจน
ส่วนความคืบหน้าเรื่องร้องเรียนกรณีไม่สามารถกดบัตรคอนเสิร์ต “NCTDREAM THEDREAMSHOW2 in BKK” ได้ ในช่วงเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัญหาของเมมเบอร์ชิพ ไม่ว่าจะกดบัตรผ่านอินเทอร์เน็ต หรือซื้อผ่านเคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อก็ไม่ได้ ทำให้มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาที่ สคบ. กว่า 1,000 ราย โดย สคบ. ได้ส่งหนังสือเชิญ บริษัท เอสเอ็ม ทรู จำกัด ผู้จัดจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตเพื่อหารือถึงมาตรการดังกล่าว ซึ่งผู้จัดจำหน่ายพร้อมเยียวยาผู้บริโภคที่ไม่สามารถกดบัตรคอนเสิร์ตได้ โดยการเปิดรอบจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตดังกล่าวเพิ่มเติม พร้อมคืนเงินให้กับผู้บริโภคที่ไม่สามารถกดบัตรคอนเสิร์ตได้ในรอบเมมเบอร์ชิพได้
ทั้งนี้ ในจำนวน 1,000 กว่าราย มีผู้บริโภค จำนวน 10 ราย ที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขตามที่ผู้จำหน่ายบัตรเสนอ สคบ. จึงต้องรวบรวมข้อมูลส่งเรื่องให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) พิจารณาต่อไปคำพูดจาก สล็อต888
ภายหลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ศิลปินเริ่มกลับมาจัดคอนเสิร์ต งานอีเวนต์ในรูปแบบคอนเสิร์ต แฟนมีตติ้ง เกิดขึ้นจำนวนมากหลังจากอัดอั้นมาร่วม 3 ปี แต่ราคาบัตรก็แพงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาบัตรคอนเสิร์ตอยู่ที่ประมาณ 1,800-7,000 บาท ส่วนหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาบัตรคอนเสริมมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัย โดยราคาเริ่มต้นที่ 2,000-10,000 บาท ไม่รวมบัตรวีไอพี และเรตส่งศิลปินที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมอีก